ผู้เขียน หัวข้อ: จะทราบได้อย่างไรว่าเสียงดังเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด (ฉนวนกันเสียง ช่วยลดเสียงดัง)  (อ่าน 227 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 255
    • ดูรายละเอียด
ฉนวนกันเสียง ช่วยแก้ปัญหาเสียงดังรบกวน ปัญหาเสียงดังรบกวนหรือระดับเสียงดังกว่าที่กฎหมายกำหนด

ปัญหาเสียงดังรบกวนหรือมลพิษทางเสียง สร้างปัญหาและความหนักใจให้กับหลายๆคน โดยที่ผู้ได้รับผลกระทบเรื่องเสียงเหล่านั้น อาจจะไม่เคยทราบว่ากฎหมายในเมืองไทยให้ความคุ้มครองแก่ผู้ที่ได้รับเสียงอยู่ 4 ประเภทด้วยกัน กล่าวคือ

1. ว่าด้วยเรื่องของระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมงริมรั้วโรงงาน ต้องไม่เกิน 70 dBA
2. ว่าด้วยเรื่องระดับเสียงที่ได้รับเฉลี่ย 8 ชั่วโมงในพื้นที่ทำงาน ต้องไม่เกิน 85 dBA
3. ว่าด้วยเรื่องระดับเสียงรบกวน ต้องต่างจากระดับเสียงพื้นฐานไม่เกิน 10 dBA
4. ว่าด้วยเรื่องเสียงที่ออกจากแหล่งกำเนิดเสียงหรือกิจกรรมต่างๆ ต้องไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ


ยกตัวอย่างรายละเอียดของความดังเสียงแต่ละประเภท ที่กฎหมายควบคุม

1. ตั้งเครื่องวัดเสียงตามระเบียบวิธีการวัดเสียงเฉลี่ยของกรมควบคุมมลพิษ บันทึกค่าเสียงทิ้งไว้ให้ครบ 24 ชั่วโมง หากระดับเสียงเฉลี่ยที่บันทึกได้เกินกว่า 70 dBA ทางโรงงานหรือแหล่งกำเนิดเสียงต้องทำการปรับปรุงหรือลดเสียงลง ให้มีค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงต่ำกว่า 70 dBA

2. เมื่อทำการติดตั้งเครื่องวัดการสัมผัสเสียง (noise dosimeter) ที่พนักงาน แล้วพบว่ามีค่า TWA (Time Weight Average) ที่ 8 ชั่วโมง หรือค่าเฉลี่ยการสัมผัสเสียง 8 ชั่วโมงเกินกว่า 85 dBA ทางโรงงานหรือผู้รับผิดชอบพื้นที่ จะต้องทำการปรับปรุงหรือจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยิน ตามรายละเอียดที่ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกำหนด

3. การวัดเสียงรบกวนตามข้อกำหนดของกรมควบคุมมลพิษคือ ให้วัดเสียงขณะมีการรบกวนแล้วหักลบด้วยระดับเสียงพื้นฐานขณะไม่มีการรบกวน จากนั้นนำไปเทียบตัวปรับค่าที่กรมควบคุมมลพิษระบุไว้ ค่าที่ได้หลังจากหักตัวปรับค่าออกแล้ว จะเป็นค่าระดับเสียงรบกวน เช่น ระดับเสียงเฉลี่ยขณะมีการรบกวนวัดได้ 68 dBA และระดับเสียงพื้นฐาน (percentile 90 ของระดับเสียงขณะไม่มีการรบกวน) วัดได้ 47 dBA เมื่อนำ 68-47 จะได้ 21 dBA (ผลต่างเกิน 12 dBA ตัวปรับค่าคือ 0) จะได้ค่าระดับเสียงรบกวนคือ 21 dBA หรือเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด 11 dBA เป็นต้น

4. สำหรับกรณีที่ค่าระดับเสียงรบกวนไม่เกิน 10 dBA แต่ผู้รับเสียงมีความเดือดร้อน รำคาญ ใช้ชีวิตให้เป็นปกติสุขไม่ได้นั้น ทางกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความคุ้มครองเอาไว้ในเรื่องของ “เหตุเดือดร้อนรำคาญ” ยกตัวอย่างเช่น วัดระดับเสียงรบกวนในห้องนอนของผู้รับเสียง ที่มีบ้านอยู่ใกล้โรงงานผลิตน้ำแข็ง พบว่าระดับเสียงรบกวนอยู่ที่ 8.8 dBA ซึ่งไม่เกินที่กรมควบคุมมลพิษกำหนดคือ 10 dBA แต่ผู้รับเสียงในห้องนั้นได้รับความเดือดร้อน นอนไม่หลับ เกิดความรำคาญและความเครียด ผู้รับเสียงสามารถร้องทุกข์ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้โรงงานผลิตน้ำแข็งทำการลดเสียงหรือปรับปรุงระบบการผลิตได้เช่นเดียวกัน




จะทราบได้อย่างไรว่าเสียงดังเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด (ฉนวนกันเสียง ช่วยลดเสียงดัง) อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://noisecontrol365.com/

xapu

  • บุคคลทั่วไป

xapu

  • บุคคลทั่วไป

xapu

  • บุคคลทั่วไป