ผู้เขียน หัวข้อ: โรคหัวใจในเด็กที่พบบ่อย เรื่องใหญ่ที่พ่อแม่ต้องให้ความสำคัญ  (อ่าน 244 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 235
    • ดูรายละเอียด
"โรคหัวใจในเด็ก" สามารถเกิดขึ้นได้ ซึ่งหลายคนสงสัยและนึกไม่ถึงว่าโรคหัวใจเกิดขึ้นกับเด็กได้ด้วยหรือ? ทั้งนี้เพราะข้อมูลเกี่ยวกับโรคหัวใจ ส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวข้องกับผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุ แต่แท้จริงแล้วโรคหัวใจในเด็กมีโอกาสเกิดขึ้นได้มากพอๆ กับโรคหัวใจในผู้ใหญ่ โดยเด็กมีโอกาสเป็นโรคหัวใจได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา บางรายตรวจพบตั้งแต่แรกเกิด บางรายตรวจพบหลังอายุ 1-2 เดือน ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาเกี่ยวกับโรคหัวใจในเด็ก และหมั่นสังเกตอาการของเด็กอย่างสม่ำเสมอ เพราะโรคหัวใจในเด็ก หายได้ หากตรวจพบเร็วและรักษาอย่างทันท่วงที


โรคหัวใจในเด็กที่พบบ่อย

โรคหัวใจในเด็ก สามารถจำแนกเป็น โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดและโรคหัวใจที่เกิดภายหลังเกิด ดังนี้

1. โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก โรคนี้อาจตรวจพบได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ หลังคลอด หรือเมื่อโตแล้ว เด็กที่เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดจำนวนหนึ่งจะไม่มีอาการ และตรวจก็ไม่พบสิ่งผิดปกติในสัปดาห์แรก แต่ในบางรายมีความผิดปกติของอวัยวะอย่างอื่นร่วมด้วย บางรายเป็นเด็กกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม และบางรายเป็นความผิดปกติจากมารดาได้รับเชื้อในระยะตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก เช่น หัดเยอรมัน โรคประจำตัว โรคเบาหวาน เป็นต้น

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด สามารถแบ่งเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดเขียวและไม่เขียว ซึ่งจะมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ไม่มีอาการแสดงจนถึงรุนแรงมากจนถึงเสียชีวิตตั้งแต่แรกเกิด โดยชนิดของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่พบบ่อย เช่น ผนังกั้นห้องหัวใจส่วนล่างรั่ว ผนังกั้นห้องหัวใจส่วนบนรั่ว ความผิดปกติของเส้นเลือดใหญ่ระหว่างหัวใจและปอด ลิ้นหัวใจรั่ว เป็นต้น โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดบางชนิด เช่น มีรูรั่วเล็กๆ ที่ผนังกั้นห้องล่าง หรือมีลิ้นหัวใจตีบเพียงเล็กน้อย ไม่จำเป็นต้องรับการรักษา ก็สามารถมีชีวิตเหมือนคนปกติ แต่ต้องป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจหรือบริเวณรูรั่ว


2. โรคหัวใจในเด็กที่เกิดภายหลัง หรือเกิดขึ้นหลังคลอด ที่พบได้บ่อยคือ

-    โรคคาวาซากิ มักพบในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 5 ปี โดยส่วนใหญ่จะมีอายุน้อยกว่า 2 ปี เป็นกลุ่มอาการที่มีการอักเสบของหลอดเลือดขนาดกลางและขนาดเล็กทั่วร่างกาย มีไข้สูง ร่วมกับมีการเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง เยื่อบุผิว และต่อมน้ำเหลืองที่คอโต สาเหตุที่แท้จริงของโรคยังไม่ทราบแน่ชัด แต่อาจเกี่ยวกับการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของร่างกาย โรคนี้ทำให้เกิดการอักเสบของหัวใจและหลอดเลือดที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้หลอดเลือดหัวใจมีลักษณะโป่งพอง กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ในระยะเฉียบพลัน หัวใจเต้นเร็ว คลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ ลิ้นหัวใจอักเสบ เยื้อหุ้มหัวใจอักเสบ

-    โรคไข้รูมาติก มักพบในเด็กอายุ 5 ขวบขึ้นไป สาเหตุเกิดหลังการติดเชื้อที่บริเวณคอแล้วเกิดอาการอักเสบตามมาซึ่งจะมีการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ และลิ้นหัวใจ ทำให้มีลิ้นหัวใจรั่ว หรือถ้าเป็นเรื้อรังทำให้ลิ้นหัวใจตีบ โดยจะมีอาการเป็นไข้ ปวด และบวมตามข้อ ผิวหนังมีผื่นแดง และชั้นใต้ผิวหนังมีตุ่มแข็ง หากมีหัวใจอักเสบร่วมด้วยจะมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หอบ ขาและเท้าบวม


-    โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ มักเกิดจากเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เช่น ไวรัสไข้หวัดใหญ่ ไวรัสโรคหัดและโรคหัดเยอรมัน นอกจากนั้นยังพบเกิดได้จาก ไวรัสเอชไอวี ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบ ซี และไวรัสโรคชิคุนกุนยา ซึ่งทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะจนกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ในรายที่อาการรุนแรง อาจเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลัน และเสียชีวิตได้


-    หัวใจเต้นผิดจังหวะในเด็ก อัตราการเต้นช้าหรือเร็วเกินไป ส่วนใหญ่ในเด็กมักพบเป็นชนิดเต้นเร็วผิดปกติ มีอาการเป็นๆ หายๆ และอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจวายและเสียชีวิตได้ โรคนี้มักไม่มีอาการ แต่สามารถสังเกตได้ คือ เด็กมีอาการใจสั่น หัวใจเต้นแรง ขณะนอนหลับ หรือพักผ่อน โดยที่เด็กไม่ได้ร้องไห้ หรือวิ่งเล่น จังหวะการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ อาจรู้สึกเหมือนหัวใจหยุดเต้นเป็นพักๆ เด็กๆ อ่อนเพลีย หรือมีอาการหน้ามืด


โรคหัวใจในเด็กที่พบบ่อย เรื่องใหญ่ที่พ่อแม่ต้องให้ความสำคัญ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/

xapu

  • บุคคลทั่วไป
Re: โรคหัวใจในเด็กที่พบบ่อย เรื่องใหญ่ที่พ่อแม่ต้องให้ความสำคัญ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2024, 15:22:43 น. »

xapu

  • บุคคลทั่วไป
Re: โรคหัวใจในเด็กที่พบบ่อย เรื่องใหญ่ที่พ่อแม่ต้องให้ความสำคัญ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2024, 08:19:34 น. »

xapu

  • บุคคลทั่วไป