ผู้เขียน หัวข้อ: เลี่ยงปัจจัยเสี่ยง “โรคมะเร็งปอด” ต้านด้วย “8 อาหารบำรุงปอด”  (อ่าน 131 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 253
    • ดูรายละเอียด
เลี่ยงปัจจัยเสี่ยง “โรคมะเร็งปอด” ต้านด้วย “8 อาหารบำรุงปอด”

“โรคมะเร็งปอด” เป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ มักไม่แสดงอาการในระยะแรก แต่จะมีสัญญาณเตือน เมื่อรู้แล้วควรเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง และหาทาง "เสริมภูมิต้านทาน" ด้วย “อาหารบำรุงปอด”

โรคมะเร็งปอด เกิดจากการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยมักไม่ค่อยแสดงอาการในระยะแรก แต่จะมีสัญญาณเตือนที่บอกถึงการเติบโตของเซลล์มะเร็ง อย่างไรก็ตาม มะเร็งปอดรักษาให้หายได้หากตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มต้น

ปัจจุบันแม้จะไม่สามารถบอกถึง สาเหตุของมะเร็งปอด ได้ชัดเจนนัก แต่มีปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งปอด ซึ่งควรหาทางเลี่ยง พร้อมบำรุงร่างกาย สร้างภูมิต้านทาน ด้วย อาหารบำรุงปอด


มะเร็งปอดแบ่งออกเป็น 2 ชนิดหลัก ๆ ขึ้นกับชนิดของเซลล์ ได้แก่

มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (non-small cell lung cancer) เป็นชนิดที่พบได้บ่อยกว่า สามารถแบ่งเป็นชนิดเซลล์ได้อีกหลายชนิด เช่น adenocarcinoma, squamous cell carcinoma ซึ่งชนิดของเซลล์จะมีแนวทางการรักษาที่แตกต่างกันเล็กน้อย

มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (small cell lung cancer) พบได้น้อยกว่า แต่เป็นชนิดที่ตอบสนองได้ดีต่อยาเคมีบำบัดและการฉายแสง ทั้งนี้ สามารถวินิจฉัยได้โดยการเอาชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยา โดยมะเร็งปอดแต่ละชนิดจะมีวิธีการรักษาและพยากรณ์โรคที่แตกต่างกันออกไป


ปัจจัยเสี่ยงโรคมะเร็งปอด

1  การสูบบุหรี่ และผู้ใกล้ชิดที่ได้รับควันบุหรี่ หรือควันบุหรี่ มือสอง เป็นปัจจัยหลัก 80-90% เพราะในบุหรี่เต็มไปด้วยสารก่อมะเร็ง เมื่อสูดควันเข้าไปสารเหล่านี้จะเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อในปอดโดยตรง ทำให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์และเกิดเป็นมะเร็งในที่สุด โดยคนที่สูบบุหรี่  1 ซองต่อวัน เป็นเวลา 20 ปี จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งปอดเพิ่มขึ้น 8 – 20 เท่า


2  สารพิษและมลภาวะในสิ่งแวดล้อม เช่น

     • สารแอสเบสตอส (asbestos) หรือแร่ใยหิน ที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตวัสดุก่อสร้างและสิ่งทอ (กระเบื้องมุงหลังคา ฝ้าเพดาน กระเบื้องยางไวนีล ผ้าเบรก ฯลฯ) เป็นสารที่ทำให้เกิดมะเร็งปอดได้ ผู้ที่ทำงานในโรงงานที่ใช้แร่ใยหินจะมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดมากกว่าคนปกติถึง 7 เท่า

     • ก๊าซเรดอน (radon) เป็นก๊าซสารกัมมันตภาพรังสีที่เกิดจากการสลายตัวของเรเดียมหรือยูเรเนียม พบได้ในอาคารหรือสิ่งก่อสร้างซึ่งมักมีดิน หิน หรือทรายที่มีแร่เรเดียมเจือปนมา
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

   • ฝุ่น PM 2.5 หรือฝุ่นละอองจิ๋วขนาดเล็กที่มีขนาดโมเลกุลเล็ก 2.5 ไมครอน ไม่สามารถมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า โดยฝุ่น PM 2.5 จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปอดมากขึ้น 1 – 1.4 เท่า เมื่อฝุ่น PM 2.5 เข้าไปในปอดจะทำให้ปอดอักเสบ และมีการกลายพันธุ์ของสารพันธุกรรม อาจทำให้เกิดมะเร็งปอดขึ้นได้

    •  สารเคมีอื่น ๆ เช่น สารหนู ถ่านหิน หรือสารพิษจากมลภาวะที่มาจากท่อไอเสียของยานพาหนะ

เลี่ยงปัจจัยเสี่ยง “โรคมะเร็งปอด” ต้านด้วย “8 อาหารบำรุงปอด”    บลูเบอร์รี่ ช่วยป้องกันโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ (Cr.delicious.com.au)

3   อายุที่มากขึ้น อวัยวะรวมถึงเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายจะยิ่งทำงานเสื่อมสภาพลง โดยผู้ที่เสี่ยงจะเป็นมะเร็งปอดมากที่สุดจะอยู่ในช่วงอายุ 55 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่สูบบุหรี่

4   พันธุกรรม ถ้ามีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งปอด จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอดเพิ่มขึ้น


สัญญาณเตือน

1   ไอเรื้อรัง (พบมาก 50-75%) ตลอดจนอาการไอมีเสมหะปนเลือด หรือไอมีเลือดสด (พบ 25-50%)

2.   เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก (พบได้ 25%)

3.   เจ็บหน้าอก (พบได้ 20%)

4    เบื่ออาหาร น้ำหนักลดโดยหาสาเหตุไม่ได้

5    หายใจมีเสียงดังผิดปกติ

6    เสียงแหบ


การรักษา ขึ้นอยู่กับ ชนิดของมะเร็ง ระยะของมะเร็ง และความแข็งแรงของผู้ป่วย ซึ่งการรักษาในปัจจุบันทันสมัยขึ้นมาก มีทั้งการผ่าตัด การใช้ยาเคมีบำบัด (chemotherapy) รักษาด้วยการฉายแสง (radiotherapy) และการใช้ยาแบบจำเพาะเจาะจง (targeted therapy) โดยแพทย์จะร่วมตัดสินใจกับคนไข้และครอบครัว เพื่อเลือกการรักษาให้เหมาะสมกับคนไข้แต่ละคน ข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.praram9.com/lung-cancer, โทร.1270


อาหารบำรุงปอด : ทุกวันนี้เราเสี่ยงกับมลภาวะ ฝุ่น PM2.5 ควันบุหรี่มือสอง จนถึงโควิด-19 จึงควรสร้างเสริมภูมิคุ้มกันด้วย อาหารบำรุงปอด มีอยู่ในพืชผักที่กินได้ทุกวัน เช่น

1   บีทรูท มีโพแทสเซียม แมกนีเซียม วิตามินซี สารแอนตี้ออกซิแดนท์แคโรทีนอยด์ และสารไนเตรทธรรมชาติ ช่วยให้หลอดเลือดสะอาด ลดความดันเลือด ช่วยในการถ่ายเทออกซิเจนไปยังปอดสะดวกขึ้น


2   พริก คนสูบบุหรี่จัดควรกินพริก คนไม่สูบแต่อยู่ใกล้กินพริกช่วยให้ร่างกายได้รับวิตามินซี ควรได้รับวันละ 35 มก. มีรายงานว่าคนสูบบุหรี่ที่กินพริกมากกว่าปกติจะช่วยให้สุขภาพปอดดีขึ้น พริกมีหลายชนิดหลายสี โดยเฉพาะพริกหวานสีแดง (ที่ไม่เผ็ด) จะช่วยให้ร่างกายได้รับวิตามินซีสูง กินพริกปริมาณ 119 กรัม จะได้วิตามินซี 169% ช่วยการป้องกันโรคเกี่ยวกับปอด


3    แอปเปิ้ล วิตามินซีและฟลาโวนอยด์ช่วยสุขภาพปอด มีงานวิจัยพบว่าผู้ที่หยุดบุหรี่ไปแล้ว (ซึ่งยังส่งผลเสียต่อปอด) เมื่อกินแอปเปิ้ล 5 ผลหรือเกินกว่านั้นต่อสัปดาห์ จะช่วยระงับความรุนแรงจากโรคเกี่ยวกับปอดและระบบทางเดินหายใจ ลดอัตราเสี่ยงโรค COPD (กลุ่มโรคปอดอักเสบและโรคหลอดลมอุดตันเรื้อรัง)


4    ฟักทอง แคโรทีนอยด์ ลูเทอีน และซีแซนธินในฟักทองเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชั้นดี ต้านการอักเสบ เสริมภูมิต้านทาน ช่วยลดความดันโลหิตและเชื่อมโยงกับการทำงานของปอด มีการศึกษาพบว่าคนสูบบุหรี่ที่บริโภคอาหารที่มีแคโรทีนอยด์น้อยกว่าคนทั่วไปที่ไม่สูบบุหรี่ จะมีอัตราเสี่ยงโรคเกี่ยวกับปอดมากกว่า


5    ขมิ้น มีความสำคัญมากขึ้นในช่วงสถานการณ์โควิด จากการศึกษาในต่างประเทศพบว่า คนที่กินขมิ้น 2,478 คน ช่วยการทำงานของปอด โดยเฉพาะในคนสูบบุหรี่ ปัจจุบันฝรั่งทำให้ขมิ้นกินง่ายขึ้นโดยทำเป็นผงชงดื่มเหมือนชา ใส่ในอาหาร (ฝรั่ง) กระทั่งสตาร์บัคส์ยังมีกาแฟใส่ขมิ้น


6    มะเขือเทศ และผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศ สารไลโคปีนเป็นแคโรทีนอยด์คุณภาพสูง ป้องกันโรค COPD รายงานจากปี 2019 ทดลองให้คนที่เป็นโรคหอบหืด105 คน ทดลองกินมะเขือเทศในปริมาณมากกว่าปกติ พบว่าความรุนแรงของโรคลดลง


7    บลูเบอร์รี่ สารแอนโธไซยานิน, มัลวิดีน, ไซยาดีน และสารสีน้ำเงินเข้มเป็นซูเปอร์แอนตี้ออกซิแดนท์ ป้องกันความเสียหายของเซลล์ โดยเฉพาะในปอด แนะนำให้บริโภคเป็นประจำต่อสัปดาห์ ป้องกันโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจได้ 38% เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่ไม่กินบลูเบอร์รี่


8    กะหล่ำปลีแดง สารสีม่วงมีแอนโธไซยานินและไฟเบอร์สูง ส่งเสริมสุขภาพปอด ส่วนใหญ่กินสดในสลัด หรือทำกะหล่ำแดงดอง คนจีนจะนำผักที่ดองไปผัดหรืออบกินเป็นผักเคียง