ผู้เขียน หัวข้อ: ผักและสมุนไพรรักษาโรคเบาหวานได้จริงหรือ ?  (อ่าน 222 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 176
    • ดูรายละเอียด
ผักและสมุนไพรรักษาโรคเบาหวานได้จริงหรือ ?
« เมื่อ: วันที่ 1 พฤศจิกายน 2023, 10:07:58 น. »
พืชผักสมุนไพรหลากหลายชนิดที่กล่าวกันว่ามีสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด มีคุณประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งก็มีงานวิจัยบางส่วนที่ศึกษาว่าผักและสมุนไพรรักษาเบาหวานได้จริง อีกทั้งส่วนใหญ่ยังเป็นพืชผักใกล้ตัวที่หารับประทานได้ง่าย จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ผู้ป่วยโรคนี้ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก


สมุนไพรรักษาเบาหวาน

เบาหวาน (Diabetes) โรคเรื้อรังที่จะส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินหรือใช้อินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนในกระแสเลือดที่คอยช่วยดูดซึมน้ำตาลในเลือดไปเป็นพลังงานให้กับเซลล์ในร่างกาย เมื่อเกิดความผิดปกตินี้ขึ้นจึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงและสร้างความเสียหายต่ออวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย การควบคุมระดับน้ำตาลให้คงที่จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งนอกจากการรับประทานยาและการปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลแล้ว สมุนไพรที่มีสรรพคุณช่วยลดน้ำตาลในเลือดทั้งหลายก็ยังได้รับความสนใจและมีการสรรหามารับประทานกันอย่างหลากหลาย

มะระ ผักที่ขึ้นชื่อว่ามีประโยชน์สารพัดและยังถูกนำมาใช้เป็นยารักษาอาการป่วยต่าง ๆ มาอย่างยาวนาน รวมถึงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยในมะระประกอบไปด้วยสารที่มีคุณสมบัติช่วยต้านเบาหวานอย่างน้อย 3 ชนิด คือ คาแรนติน (Charantin) ที่พบว่าช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดให้ต่ำลงได้ ส่วนอีก 2 ชนิดได้แก่ สารไวซีน (Vicine) และสารโพลีเพปไทด์พี (Polypeptide-p) ซึ่งเป็นสารที่ทำหน้าที่คล้ายอินซูลิน นอกจากนี้ยังมีโปรตีนเลคติน (Lectin) ที่สามารถลดความเข้มข้นของน้ำตาลในเลือดลง โดยเชื่อว่าสารนี้เป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงหลังจากการรับประทานมะระเข้าไป

สำหรับข้อยืนยันทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับคุณสมบัติของมะระต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือดนั้น มีการศึกษาถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยของมะระตระกูลหนึ่งคือมะระขี้นก เปรียบเทียบกับยาเมทฟอร์มิน (Metformin) ซึ่งเป็นยาลดน้ำตาลสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยแบ่งกลุ่มทดลองเป็น 4 กลุ่ม ให้รับประทานมะระวันละ 500 กรัม 1,000 กรัม และ 2,000 มิลลิกรัม/วัน ส่วนผู้ป่วยกลุ่มสุดท้ายให้ใช้ยาเมทฟอร์มินในปริมาณ 1,000 มิลลิกรัม/วัน เป็นเวลาทั้งหมด 4 สัปดาห์ ผลการทดสอบพบว่ากลุ่มที่รับประทานมะระวันละ 2,000 มิลลิกรัม/วัน มีระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างชัดเจน แต่เมื่อเทียบกับการใช้เมทฟอร์มินแล้ว ประสิทธิภาพในการรักษาของมะระยังมีน้อยกว่า อย่างไรก็ดี งานวิจัยเก่า ๆ บางงานเองก็กล่าวว่าการรับประทานมะระน่าจะมีความเกี่ยวโยงกับการช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเช่นเดียวกัน

ทั้งนี้ผลการศึกษาที่เป็นไปในทางตรงกันข้ามก็มีเช่นกัน เช่น งานวิจัยหนึ่งศึกษากลุ่มผู้ทดลองอายุ 18 ปีขึ้นไปที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หรือมีพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลที่ไม่ดี โดยให้รับประทานแคปซูลมะระหลังมื้ออาหารวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 2 เม็ด เป็นเวลา 3 เดือนเพิ่มเติมจากยารักษาเบาหวานที่ใช้อยู่ ผลลัพธ์พบว่า เมื่อเทียบกับยาหลอก แคปซูลมะระอาจส่งผลต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือดเพียงเล็กน้อย จึงยังไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับคุณประโยชน์ด้านนี้ของมะระ ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่ายังต้องมีการศึกษาที่มีรูปแบบรัดกุมและน่าเชื่อถือเพียงพอมากกว่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน

เมื่อทราบถึงประโยชน์ของมะระที่น่าจะเป็นผลดีต่อการรักษาโรคเบาหวานดังนี้แล้ว หลายคนคงต้องการลองรับประทานสมุนไพรทางเลือกชนิดนี้ดู ซึ่งก็อาจไม่เสียหายอะไรหากมีการปรึกษาถึงความปลอดภัยในการใช้กับแพทย์แล้ว เนื่องจากมะระอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงดังต่อไปนี้

    การรับประทานมะระอาจไม่ปลอดภัยสำหรับหญิงที่ตั้งครรภ์ เนื่องจากพบว่าสารบางชนิดในผลหรือเมล็ดของมะระอาจสามารถทำให้มีเลือดประจำเดือนผิดปกติและเกิดการแท้งลูกได้ ส่วนหญิงที่ให้นมบุตรก็ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าจะเป็นอันตรายต่อทารกหรือไม่ เพื่อความปลอดภัยจึงควรหลีกเลี่ยงจะเป็นการดีที่สุด
    ไม่ควรรับประทานมะระเป็นอาหารเกินกว่า 55 กรัมโดยประมาณ หรือเทียบเป็นมะระขี้นกจำนวน 2 ลูกต่อวัน เพราะการรับประทานมากเกินอาจทำให้เกิดอาการปวดท้องอ่อน ๆ หรือท้องเสียได้
    ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ต้องการใช้มะระในการช่วยควบคุมระดับน้ำตาลต้องปรึกษาแพทย์ เพื่อให้แน่ใจว่าการรับประทานมะระควบคู่กับยารักษาโรคเบาหวานที่ใช้อยู่จะปลอดภัย เพราะการรับประทานทั้งยารักษาโรคเบาหวานและมะระอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำจนเกินไป ควรรับประทานอย่างระมัดระวังและหมั่นตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดอยู่เสมอ
    การรับประทานมะระที่มีคุณประโยชน์ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดร่วมกับสมุนไพรหรือพืชชนิดอื่น ๆ ที่มีคุณสมบัติเดียวกันนี้อาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงต่ำจนเป็นอันตรายได้เช่นเดียวกัน ได้แก่ กระเทียม เมล็ดลูกซัด โสม กรดอัลฟาไลโปอิก (Alpha-lipoic acid) โครเมียม (Chromium) กัวร์กัม (Guar gum) ยาไซเลียม (Psyllium) และอื่น ๆ


ผักและสมุนไพรรักษาโรคเบาหวานได้จริงหรือ ? อ่านบบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/

xapu

  • บุคคลทั่วไป
Re: ผักและสมุนไพรรักษาโรคเบาหวานได้จริงหรือ ?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2024, 07:03:01 น. »

xapu

  • บุคคลทั่วไป
Re: ผักและสมุนไพรรักษาโรคเบาหวานได้จริงหรือ ?
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2024, 00:16:22 น. »

xapu

  • บุคคลทั่วไป
Re: ผักและสมุนไพรรักษาโรคเบาหวานได้จริงหรือ ?
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: วันที่ 7 พฤษภาคม 2024, 16:25:59 น. »