ผู้เขียน หัวข้อ: จัดฟันบางนา: การขบเคี้ยวแรงๆ ส่งผลต่อรากฟันเทียมอย่างไรบ้าง ?  (อ่าน 136 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 256
    • ดูรายละเอียด
จัดฟันบางนา: การขบเคี้ยวแรงๆ ส่งผลต่อรากฟันเทียมอย่างไรบ้าง ?

การทำรากฟันเทียม ถือเป็นวิธีการรักษาเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นวิธีการทดแทนฟันธรรมชาติที่ดีที่สุด เนื่องด้วยการใช้งานที่เสมือนมีฟันธรรมชาติอยู่ภายในช่องปาก ด้วยการฝังรากฟันเทียมลงไปบนกระดูกขากรรไกรที่ใช้รองรับรากฟันเทียม การรักษาด้วยการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม ถือเป็นที่นิยมในปัจจุบัน ด้วยการใช้งานที่มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับฟันธรรมชาติ และวิธีการดูแลรักษาที่ง่าย รวมไปถึงวัสดุที่ใช้ในการทำรากฟันเทียม ที่มีความแข็งแรง ทนทานต่อแรงบดเคี้ยว ทำให้เปผ้นที่ยอมรับจากทั่วโลกว่า เป็นการรักษาทางทันตกรรมที่ได้มาตรฐานมากที่สุด ต่างจากแต่ก่อนที่ใช้ฟันปลอมในการทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป ที่วัสดุในการทำฟันปลอม ไม่ได้แข็งแรงเหมือนกับรากฟันเทียม ที่ใช้ไทเทเนียม โลหะที่สามารถเข้ากับร่างกายได้ดี จึงทำให้ทนต่อแรงบดเคี้ยว และการใช้งานฟันในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังมีระยะเวลาที่ยาวนาน ถาวรอีกด้วย ซึ่งระยะเวลานั้น ก็ต้องขึ้นอยผุ่กับการดูแลรักษาและพฤติกรรมการรับประทานอาหารของแต่ละบุคคลด้วย


เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า การรับประทานอาหารส่งผลต่อปากโดยตรง เพราะเราต้องใช้ปากในการรับประทานอาหารในแต่ละวัน พฤติกรรมการรับประทานอาหารของแต่ละบุคคลย่อมมีความต่างกันอยู่แล้ว ในช่วงแรกภายหลังจากการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม ผู้เข้ารับการรักษาจะต้องมีระเบียบวินัยในการดูแลช่องปากภายหลังจากการฝังรากฟันเทียม ก็คือ ช่วง 1-3 วันแรกควรจะรับประทานอาหารที่อ่อน เพื่อที่จะได้ไม่กระทบกระเทือนต่อรากฟันเทียมที่เพิ่งทำการฝังไว้ ขณะการพักฟื้นเพื่อรอให้รากฟันเทียมกับกระดูกขากรรไกรที่ใช้รองรับรากฟันเทียม ประสานตัวกันอย่าสนิทเสียก่อน ในช่วงนี้การรับประทานอาหารที่อ่อน ถือเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมาก


ผู้เข้ารับการรักษาจะต้องหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีความแข็ง ความเหนียว เพื่อจะได้ลดแรงในการบดเคี้ยวอาหาร เพราะหากรับประทานอหารที่แข็งเข้าไป หลังจากที่ทำการฝังรากฟันเทียม อาจจะทำให้รากฟันเทียมหรือบาดแผลบริเวณที่ทำการฝังรากฟันเทียมเกิดการอักเสบ และติดเชื้อได้ อาจจะส่งผลให้รากฟันเทียมเกิดหลุด หรือบริเวณตัวครอบฟันอาจจะแตกได้ ถ้าตัวครอบฟันแตก อาจจะต้องทำการเปลี่ยนตัวครอบฟัน ซึ่งถือว่าไม่ยุ่งยากเท่าไหร่ แต่การที่ตัวรากฟันเทียมเกิดหลุดออกมา อาจจะทำให้เกิดความล้มเหลวในการรักผาาด้วยการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมได้เลย เพราะทันตแพทย์จะต้องทำงานฝังรากฟันเทียมใหม่หมดทุกขั้นตอน


ในการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมนั้น หากต้องเข้ารับการฝังรากฟันเทียมใหม่ เรื่องของกระดผุกรองรับรากฟันเทียม ที่ได้ทำการฝังรากฟันเทียมลงไปแล้วอาจจะทำให้เกิดรูที่ใช้ฝังรากฟันเทียม ซึ่งอาจจะไม่พร้อมหรือไม่เหมาะกับการฝังรากฟันเทียมซ้ำลงไปอีกครั้ง จึงอาจจะต้องทำการปลูกถ่ายกระดูกฟัน ซึ่งต้องใช้เวลาพักฟื้นกระดูกขากรรไกร เพื่อให้มีความพร้อม และความแข็งแรงมากพอที่จะทำการฝังรากฟันเทียมเป็นครั้งที่สอง ซึ่งการปลูกถ่ายกระดูกจำเป็นต้องใช้เวลานานพอสมควร อาจจะต้องมีการใช้กระดูกภายในร่างกายของผู้เข้ารับการรักษา เขามาทดแทน ทำการปลูกถ่ายไปยังกระดูกขากรรไกรที่ใช้รองรับรากฟันเทียม เห็นไหมว่า การดูแลรักษารากฟันเทียม


ภายหลังจากการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมแล้ว ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ จะต้องระมัดระวังในเรื่องของการรับประทานอาหาร การบดเคี้ยว หากใช้แรงมาก อาจจะทำให้เกิดความเสียหายได้ ซึ่งอาจจะส่งผลให้ผู้เข้ารับการรักษาจะต้องทำการฝังรากฟันเทียมใหม่ทั้งหมด ซึ่งจะเสียเวลา และเสียเงินเพิ่มโดยไม่จำเป็น เพราะฉะนั้น ภายหลังจากการรักษาแล้ว ผู้เข้ารับการรักษาจะต้องระมัดระวัง ดูแลสแุขภาช่องปากและฟันอย่างถูกวิธี ทำตามคำแนะนำของทันตแพทย์อย่างเคร่งครัดเพื่อผลการรักษาที่ดีและมีประสิทธิภาพมากที่สุด